วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารขึ้นชื่อของฝรั่งเศส


ครัวซอง
ครัวซอง ( croissant) คือขนมอบชนิดหนึ่งที่กรอบ ชุ่มเนย และโดยทั่วไปจะมีลักษณะโค้งอันเป็นที่มาของชื่อ "croissant" ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสหมายถึง "จันทร์เสี้ยว" บางทีก็ถูกเรียกว่า crescent roll (โรลจันทร์เสี้ยว)
การทำครัวซองค์จะต้องใช้แป้งพายชั้น (puff pastry - พัฟ เพสทรี่) ที่ผสมยีสต์ นำมารีดให้เป็นแผ่น วางชั้นของเนยลงไป พับและรีดให้เป็นแผ่นซ้ำไปมา ตัดเป็นแผ่นสามเหลี่ยม นำไปม้วนจากด้านกว้างไปด้านแหลม บิดปลายให้โค้งเข้าหากัน อบโดยใช้ไฟแรงให้เนยที่แทรกอยู่เป็นชั้นดันแป้งให้ฟูก่อน จึงค่อยลดไฟลงไม่ให้ไหม้


เมดิเตอเรเนียนคีช

คีช ( quiche) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่าคีชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่คีชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในคีชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง ได้
ถึงแม้ว่าคีชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา


ขนมปังฝรั่งเศส

บาเกต ( baguette) หรือ ขนมปังฝรั่งเศส เป็นขนมปังมีลักษณะรูปทรงเป็นแท่งยาวขนาดใหญ่ เปลือกนอกแข็งกรอบ เนื้อในนุ่มเหนียว และเป็นโพรงอากาศ มักนำมาหั่นเฉียงเป็นแผ่นหนา เพื่อรับประทานกับซุป ปาดเนยสด หรือประกอบทำเป็นแซนด์วิช


ปาเตหลายหลายชนิดคู่กับแตร์รีน
ปาเต ( pâté) เป็นอาหารยุโรปประเภทหนึ่ง ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงเนื้อบดผสมไขมัน ปาเตโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นซอสสำหรับทา ทำจากเนื้อบดละเอียดหรือส่วนผสมของเนื้อและตับบดหยาบ ๆ และมักผสมไขมัน ผัก สมุนไพร เครื่องเทศ หรือไวน์ เป็นต้น

ในประเทศฝรั่งเศสและประเทศเบลเยียม ปาเตอาจใช้เป็นไส้พายหรือขนมปังแถว เรียก "ปาเตอ็องกรูต" (ฝรั่งเศส: pâté en croûte) หรือใช้อบด้วยแตร์รีนหรือแม่พิมพ์แบบอื่น เรียก "ปาเตอ็องแตร์รีน" (ฝรั่งเศส: pâté en terrine) ปาเตประเภทที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ "ปาเตเดอฟัวกราส์" (ฝรั่งเศส: pâté de foie gras) ทำจากตับของห่านที่ขุนจนอ้วน คำว่า "ฟัวกราส์อองตีเยร์" (ฝรั่งเศส: foie gras entier) หมายถึง ตับห่านธรรมดาที่ได้รับการปรุงสุกและหั่นเป็นแผ่น ไม่ใช่ปาเต

ส่วนในประเทศฮอลแลนด์ ประเทศเยอรมนี ประเทศฟินแลนด์ ประเทศฮังการี ประเทศสวีเดน และประเทศออสเตรีย ปาเตที่ทำจากตับบางชนิดจะมีลักษณะอ่อนยวบ โดยมากเป็นไส้กรอกที่ใช้ทาได้ ภาษาดัตช์เรียก "leverworst" ภาษาเยอรมันเรียก "leberwurst"

ฟัวกรา เสิร์ฟแบบปิกนิกพร้อมขนมปั

ฟัวกรา ( Foie gras ) แปลเทียบเคียงว่า fat liver คือตับห่านหรือเป็ดที่ถูกเลี้ยงให้อ้วนเกิน ฟัวกราได้ชื่อว่าเป็นอาหารฝรั่งเศสที่ดีที่สุด เช่นเดียวกับทรัฟเฟิล มีลักษณะนุ่มมันและมีรสชาติที่แตกต่างจากตับของเป็ดหรือห่านธรรมดา

ใน พ.ศ. 2548 ทั่วโลกมีการผลิตฟัวกราประมาณ 23,500 ตัน ในจำนวนนี้ ประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ผลิตมากที่สุดคือ 18,450 ตัน หรือร้อยละ 75 ของทั้งหมด โดยร้อยละ 96 ของฟัวกราจากฝรั่งเศสมาจากตับเป็ด และร้อยละ 4 มาจากตับห่าน ประเทศฝรั่งเศสบริโภคฟัวกราใน พ.ศ. 2548 เป็นจำนวน 19,000 ตัน

ประเทศฮังการีผลิตฟัวกรามากเป็นอันดับสอง และส่งออกมากเป็นอันดับหนึ่ง คือ 1,920 ตันใน พ.ศ. 2548 โดยเกือบทั้งหมดส่งออกไปที่ฝรั่งเศส


ฟัวกรา
ชามที่มีราทาทุยและขนมปังเคียงข้าง

ราทาทุย ( Ratatouille ) เป็นอาหารพื้นเมืองของฝรั่งเศส ในเขต Provençal โดยมีลักษณะเป็นสตูว์ผัก มีต้นกำเนิดมาจากเมือง Nice ทานตอนใต้ของฝรั่งเศส อาหารชนิดนี้มีชื่อเต็มว่า ratatouille niçoise


ราทาทุย ( Ratatouille )

เจ้าชายน้อย

เจ้าชายน้อย (ฝรั่งเศส: Le Petit Prince; อังกฤษ: The Little Prince) เป็นนวนิยายที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของอองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรี นักเขียนชาวฝรั่งเศส ตีพิมพ์ครั้งแรกในปีค.ศ. 1943 อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรีเขียนงานเขียนชิ้นนี้ขณะพำนักอยู่ที่นิวยอร์ก เจ้าชายน้อยถือได้ว่าเป็นหนังสือขายดีติดอันดับโลก นวนิยายชุดนี้ได้รับการจัดแปลกว่า 190 ภาษาและมียอดจำหน่ายกว่า 80 ล้านเล่มทั่วโลก[1][2] ในหลายประเทศได้มีการนำเอาเนื้อเรื่องจากหนังสือไปสร้างเป็นการ์ตูน ภาพยนตร์ ละครเวที อุปรากรและการแสดงรูปแบบอื่นๆ

เนื้อเรื่องย่อ

เจ้าชายน้อยได้ออกเดินทางเพื่อค้นหาถึงคุณค่าของมนุษย์โดยได้พบกับผู้คนมากหน้าหลากหลาย และเห็นพฤติกรรมที่ไร้คุณค่าอย่างแท้จริง จนกระทั่งมาพบกับคนจุดแสงตะเกียงที่ทำคุณประโยชน์ให้กับเพื่อนมนุษย์นี้เองที่ทำให้เจ้าชายน้อยเกิดความประทับใจ

รูปแบบวรรณกรรม
แรกเริ่มเดิมที อองตวน เดอ แซง-เตกซูเปรีผู้ประพันธ์มีจุดประสงค์เขียนเพื่อเสียดสีสังคมเท่านั้น ทว่าเนื้อหาที่มีแง่คิดดีๆเหล่านี้ได้ถูกนักวิจัยจัดให้งานเขียนชิ้นนี้อยู่ในกลุ่มของวรรณกรรมเยาวชนแทนในเวลาต่อมา นอกจากนี้ยังมีข้อคิดสอดแทรกดีๆที่คล้ายคลึงกับหลักพุทธธรรมด้วยเช่นกัน เช่น หลักอนิจจัง

แด่ เลออง แวร์ท


ฉันต้องขอโทษคุณหนูทั้งหลาย ที่ได้อุทิศหนังสือเรื่องนี้ให้แก่ผู้ใหญ่คนหนึ่ง ฉันมีเหตุผลแก้ตัวอย่างจริงจังหลายข้อทีเดียว กล่าวคือ ผู้ใหญ่คนนี้เป็นเพื่อนดีที่สุดที่ฉันมีอยู่ในโลก ข้อแก้ตัวอีกข้อหนึ่งคือ ผู้ใหญ่คนนี้สามารถเข้าใจอะไรได้ทุกอย่าง แม้แต่หนังสือสำหรับเด็ก ฉันมีข้อแก้ตัวข้อที่สามด้วย คือ ผู้ใหญ่คนนี้อาศัยอยู่ในประเทศฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาได้พบกับความหิวโหยและหนาวเย็น เขาต้องการคำปลอบประโลม ถ้าหากว่าข้อแก้ตัวดังกล่าวนี้ยังไม่เพียงพอ ฉันก็อยากจะอุทิศหนังสือเล่มนี้ให้แก่เด็กที่ผู้ใหญ่คนนี้เคยเป็นมาก่อน ผู้ใหญ่ทุกคนเคยเป็นเด็กมาก่อนทั้งนั้น (แต่น้อยคนนักที่จะหวนระลึกได้) ฉะนั้นฉันจึงขอแก้คำอุทิศใหม่เป็น
แด่ เลออง แวร์ท เมื่อครั้งที่เขายังเป็นเด็กเล็ก ๆ

เกี่ยวกับผู้เขียน

เกี่ยวกับผู้เขียน แซงเตกซูเปรี เกิดที่เมืองลียอง เมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๓ เป็นคนที่มีนิสัยชอบเล่นมาแต่เยาว์วัย อายุมากเขาก็ยังชอบเล่นอยู่ เขามักหวนระลึกถึงเวลาอันสนุกสนานในวัยเด็ก ๆเสมอ โดยเฉพาะมารดาผู้อ่อนหวานซึ่งได้เลี้ยงดูอบรมเขามาโดยตลอด เพราะบิดาถึงแก่กรรมเมื่อเขาอายุได้เพียง ๔ ขวบ หลังจากนั้นเขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนประจำแห่งหนึ่ง ในระยะแรกเขาไม่สู้ชอบใจนัก ดังที่เคยเขียนในหนังสือเล่มหนึ่งว่า เขาแกล้งทำเป็นไม่สบายเพื่อไม่ต้องเข้าชั้นเรียนเมื่อได้ยินเสียงระฆังตีเวลาเข้าเรียน ส่วนเวลาพักออกมาเล่นและเวลารับประทานอาหาร เสียงระฆังนั้นฟังดูมีชีสวิตชีวาและมีความหมายสำหรับเด็กนักเรียนคนอื่น ๆ ตั้งแต่นั้นมาเขาก็เลิกทำเป็นไม่สบายอีก เพราะเขารู้สึกเหมือนตนเองถูกลงโทษ ถูกทอดทิ้งไม่มีใครเหลียวแล ต้องกินยาขม นอนอยู่บนเตียงชุ่มด้วยเหงื่อ วันเวลาผ่านไปอย่างเชื่องช้าเหมือนไม่มีโมงยาม

เมื่อสอบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้แล้ว เขาตั้งใจเรียนต่อเตรียมทหารเรือที่โรงเรียนแซงต์หลุยส์ในกรุงปารีส แต่สอบเข้าไม่ได้เพราะไม่ยอมทำเรียงความเรื่อง “ความรู้สึกของทหารที่กลับจากสงคราม” เขาบอกว่าเขาไม่สามารถบรรยายความรู้สึกซึ่งเขาไม่เคยประสบนั้นได้ เขาจึงไปรับราชการทหารเป็นนักบินอยู่ที่เมืองสตาร์บูร์คและฝึกหัดบินจนได้รับใบอนุญาตเป็นนักบินอาชีพ เริ่มทำงานที่เมืองตูลูส เป็นนักบินประจำเส้นทางสาย ตูลูส-คาซาบลังกา แล้วต่อมาถูกส่งไปเป็นหัวหน้าหน่วยประจำสถานีที่กางจูบีในแอฟริกา
ณ ที่นี้เอง แซงเตกซูเปรี ได้ตระหนักว่า อาณาจักรของมนุษย์เรานี้อยู่ในใจของเราแต่ละคนนั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากเขามีชีวิตอยู่ในวงสังคมที่จำกัด มีเพียงเพื่อนนักบินด้วยกันไม่กี่คน ซึ่งนาน ๆ จะบินผ่านมาและมีผู้บังคับการป้อมที่มาเยี่ยมเยียนเป็นครั้งคราว นอกจากนั้นก็มีแต่ทะเลทรายสุดลูกหูลูกตา งานของเขามีหน้าที่ส่งวิทยุติดต่อกับศูนย์หน่วยงาน คอยให้อาณัติสัญญาณนักบิน จัดถุงพัสดุไปรษณีย์ และหน้าที่ที่สำคัญที่สุดคือคอยช่วยเหลือออกค้นหานักบินที่ประสบอุบัติเหตุซึ่งมีเป็นประจำทุกเดือน เพราะสมัยนั้นเป็นสมัยเริ่มบุกเบิกทางด้านการบิน ซึ่งทั้งนี้เขาต้องเป็นทั้งช่างซ่อมเครื่องบินและแพทย์ไปในขณะเดียวกันด้วย จากประสบการณ์เหล่านี้ เขาได้นำมาเขียนเป็นนวนิยายเรื่องแรกของเขา คือ เรื่อง Courrier Sud พิมพ์ในปี พ.ศ.๒๔๗๐ หลังจากการไปฝึกฝนเพิ่มเติม เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการบริษัทขนส่งทางอากาศบริษัทหนึ่งที่กรุงบัวโนสไอเรสในอเมริกาใต้ ในปี พ.ศ.๒๔๗๓ เขาได้รับอิสริยาภรณ์ เลซียอง ตอนเนอร์ ในฐานะนักบินพลเรือนที่ปฏิบัติได้ผลดีที่กางจูบี ต่อมาเมื่อมีการเปิดสายการบินเพิ่มถึงอเมริกาใต้ ทำให้นักบินจำต้องเสี่ยงชีวิตปฏิบัติการในตอนกลางคืนด้วย เพื่อแข่งขันกับการขนส่งทางเรือ เละเพื่อผลประโยชน์ต่อส่วนรวม นวนิยายเรื่องใหม่ของเขาจึงได้ชื่อว่า “บินกลางคืน” (Vol de Nuit) เรื่องนี้ได้รับรางวัล Grix F?mina ประจำปี พ.ศ.๒๔๗๔

ต่อมาเขาได้แต่งงานกับแม่หม้ายชาวอเมริกาใต้ชื่อ Consuelo Suncin แล้วกลับมาเป็นนักบินขับเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกระหว่างเมือง มาร์แซย และอัลเช และประสบอุบัติเหตุครั้งหนึ่งเนื่องจากปีกเครื่องบินหัก เขาจึงหันไปสนใจการถ่ายทำภาพยนตร์โฆษณาให้แก่บริษัท Air France ต่อมาไปเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ Paris Soir ประจำกรุงมอสโก แล้วย้ายไปเป็นผู้สื่อข่าวสงครามกลางเมืองสเปนที่กรุงมาดริด

ในปี พ.ศ.๒๔๗๘ เขาทดลองบินรวดเดียวจากปารีสถึงไซ่ง่อนเป็นระยะทางถึง ๑๒,๐๐๐ กม. เพื่อทำลายสถิติ แต่เครื่องบินขัดข้องต้องร่อนลงกลางทะเลทรายห่างจากกรุงไคโรประมาณ ๒๐๐ กม. เขาต้องเดินฝ่าทะเลทรายอยู่ห้าวันจึงพบกับกองคาราวาน

เมื่อเขาทราบข่าวว่ามีการเปิดเส้นทางบินไปสหรัฐอเมริกา แซงเตกซูเปรี ก็อดไม่ได้ที่จะเข้าร่วมบุกเบิกสายกานบินใหม่นี้ด้วย ครั้งหนึ่งเครื่องบินเกิดอุบัติเหตุขณะร่อนลงที่กรุงนิวยอร์ก เขาได้รับบาดเจ็บสาหัสจนต้องพักรักษาตัวอยู่นาน อันเป็นโอกาสให้เขาเขียนเรื่อง Terre des Hommes ได้สำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๘๒ และได้รับรางวัล Grand Prix du Roman จากราชบัณฑิตยสภาฝรั่งเศส เรื่องนี้มีชื่อเสียงแพร่หลายมากในสหรัฐอเมริกา และได้รับเลือกเป็นหนังสือประจำเดือนมีชื่อในภาคภาษาอังกฤษว่า Wind, Sand and Stars
เมื่อเกิดสงครามขึ้น แซงเตกซูเปรี ถูกเกณฑ์ให้เป็นผู้สอนเทคนิคการบิน แต่เขาอยากออกบินเองทั้ง ๆ ที่นายแพทย์ห้าม เขาได้วิ่งเต้นจนได้เข้าร่วมหน่วยบินลาดตระเวนหมู่ ๒/๓๓ ซึ่งเขาได้เขียนประสบการณ์ระยะนี้ไว้ในเรื่อง Gilote de Guerre เรื่องนี้พิมพ์ในสหรัฐฯ เพราะขณะนั้นฝรั่งเศสถูกยึดครอง แซงเตกซูเปรี ได้ช่วยทำงานในหน่วยต่อต้านที่สหรัฐฯด้วย เขาได้พูดวิทยุเรียกร้องให้ชาวฝรั่งเศสสามัคคีกัน ทั้งยังได้เขียนหนังสือปลุกใจชื่อ Lettre â un Otage ในเดือนเมษายน ปี พ.ศ.๒๔๘๖ นั้นเอง Le Petit Prince ก็ได้ถูกตีพิมพ์ขึ้นอีกเรื่องหนึ่งในสหรัฐฯ

เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะเป็นนักบินก็น้อยลง แต่เขาก็พยายามวิ่งเต้นจนได้ไปร่วมหน่วยลาดตระเวนหมู่ ๒/๓๓ อีก และใช้เวลาว่างเขียนเรื่อง Citadelle ทั้งนี้เพราะเขาได้รับอนุญาตให้บินจำกัดเพียงไม่กี่ครั้ง แต่เขาก็พยายามขอออกบินอยู่เสมอ ๆ จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๘๘ เขาได้ออกบินลาดตระเวนเหนือดินแดนฝรั่งเศสแถบเมืองเกรอนอง เขาออกบินแต่เช้าจนบ่ายก็ยังไม่กลับ ทุกคนตระหนักดีว่าในเวลานั้นน้ำมันต้องหมดแล้ว จึงสรุปว่าเครื่องบินของเขาคงต้องประสบอุบัติเหตุ หรือไม่ก็ถูกเครื่องบินขับไล่ของเยอรมันยิงตก แซงเตกซูเปรี เสียชีวิตระหว่างปฏิบัติงานต่อต้านเพื่ออิสรภาพของฝรั่งเศส เป็นการปฏิบัติหน้าที่ป้องกันประเทศ จึงสมควรได้รับยกย่องเป็นวีรบุรุษโดยแท้