ย้อนไปเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ.1789 กองทัพทหาร และประชาชนได้พร้อมใจกันบุกคุกบาสติลย์ (Bastilles) เพื่อปลดปล่อย นักโทษ การเมือง ให้เป็นอิสระ อันคุกบาสติลย์นี้ถือว่าเป็นเครื่องหมายของการบีบบังคับและความอยุติธรรม ซึ่งเกิดจากการปกครอง โดยกษัตริย์ ที่ไร้ ทศพิธราชธรรม จึงประกาศวันที่ได้รับการปลดปล่อยนี้ให้เป็น..วันชาติของฝรั่งเศส (La Fête Nationale)
เมื่อหลายร้อยปีก่อน ประเทศฝรั่งเศสมีการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ จนกระทั่งถึงปลายศตวรรษที่ 16 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งราชวงศ์บูรบอง (Bourbon)บ้านเมืองอยู่ในระยะของสงครามอังกฤษ เพื่อแย่งชิงอาณานิคม ทำให้การเงินการคลังของประเทศล้มละลาย ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขาดแคลน แต่ในทางกลับกัน ราชสำนักกลับมีความเป็นอยู่อย่างหรูหรา ฟุ่มเฟือย ชนชั้นขุนนางได้รับการยกเว้น ภาษี ส่วนประชาชน ที่มีความยากจนอยู่แล้วต้องถูกทางการรีดภาษีอย่างหนัก ทำให้เกิดความไม่พอใจอย่างมาก
ในตอนนั้น ชนชั้นกลางมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เนื่องจากชนกลุ่มนี้มีการศึกษาดี ร่ำรวย แต่ไม่มี สิทธิในทาง การเมือง การปกครอง เทียบเท่าชนชั้นพระ และชนชั้นขุนนาง จึงต้องการเปลี่ยนแปลงระบบเก่า และได้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจเอาไว้ โดยเข้าร่วม การปฏิวัติในอเมริกา ซึ่งมีสาระสำคัญในทางทฤษฎีว่าด้วยสิทธิตามธรรมชาติของมนุษย์ และสองนักปราชญ์แห่งยุคคือ วอลแตร์ กับ มองเตสกิเออ นำทฤษฎีดังกล่าวมาสอนประชาชน ในขณะเดียวกัน มาควิส เดอ ลา ฟาแยตต์ (Marquis de la Fayett) ซึ่งทำสงคราม ช่วยเหลือ ชาวอาณานิคม ในอเมริกาต่อต้านอังกฤษจนได้ชัยชนะ ก็นำความคิดนี้มาเผยแพร่ จึงทำให้ ประชาชนชาวฝรั่งเศส ดิ้นรนเรียกร้อง ให้ได้มาซึ่งสิทธิและเสรีภาพยิ่งขึ้น
เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1789 ประชาชนซึ่งมีความเป็นอยู่อย่างแร้นแค้น ได้บุกเข้าปล้นสะดมบ้านของพวกขุนนาง กรุงปารีสมีแต่ความวุ่นวาย ชนชั้นกลางได้รวมตัวกันก่อตั้งกองทหารรักษาการณ์แห่งชาติเข้าร่วม กับประชาชนทำลายคุกบาสติลย์ ซึ่งเท่ากับว่า เป็นการปลดแอกอำนาจการปกครองโดยกษัตริย์ นับเป็นการปฏิวัติครั้งใหญ่ยิ่ง และสำคัญของโลก
ผลกระทบของเหตุการณ์ได้แพร่ไปสู่ประเทศอื่นๆในยุโรป โดยเฉพาะในรัสเซีย กล่าวคือระยะแรกของการปฏิวัติ ประมาณปี ค.ศ. 1791ได้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใช้ กษัตริย์ต้องอยู่ใต้กฎหมาย และรัฐสภา ก็มีเพียงสภาเดียว คือ สภานิติบัญญัติ ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทในการปกครอง แต่ด้วยความเกรงกลัวว่า การล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ์จะแพร่ขยายไปทั่วยุโรป ทำให้ออสเตรียและปรัสเซียยกทัพรุกฝรั่งเศสแต่ไม่สำเร็จ ทางสภานิติบัญญัติจึงยกเลิกระบบ ราชาธิปไตยและประกาศเป็นประเทศสาธารณรัฐ เมื่อวันที่ 20 กันยายน ค.ศ. 1792 และตั้งสภาใหม่ขึ้นมา และในปี 1793 ก็ได้สำเร็จโทษพระเจ้าหลุยส์และพระนางมารี อังตัวเนต์ด้วยการประหารชีวิตด้วยเครื่องประหาร กิโยตีน แม้ผลการปฏิวัติจะสำเร็จ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีฐานะยากจนเหมือนเดิม รัฐบาลยังมุ่งแต่กอบโกยผลประโยชน์กัน จนมีบุคคลคนหนึ่งแสวงหาอำนาจโดย เป็นเครื่องมือ ให้ประชาชนเลื่อมใส และยึดอำนาจการปกครองมาเป็นของตน บุคคลผู้นี้คือ นโปเลียนโบนาปาร์ต
นโปเลียนได้กลายเป็นวีรบุรุษของชาติเพราะอาศัยความล้มเหลวของรัฐบาลสถาปนาตนเป็นแม่ทัพใหญ่คุมกองทัพ ออกไปรบชนะออสเตรเลียในปี ค.ศ.1797 ทั้งยังแพร่ขยายอาณาเขตไปทั่วยุโรป จนปี ค.ศ. 1804 ได้สถาปนาตนเอง ขึ้นเป็นจักรพรรดินโปเลียน และพยายาม ที่จะครอบครอง รัซเซียให้ได้ จึงทำสงคราม กับรัสเซีย และเป็นครั้งแรก ที่นโปเลียนแพ้ ทำให้ชนชาติต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสเกิดกำลังใจที่จะต่อต้าน เมื่อนโปเลียน ได้ถูกเนรเทศไปยังเกาะอัลบา พระเจ้าหลุยส์ได้กลับมาครองราชย์ใหม่แต่เพียงระยะสั้นๆ ในปี ค.ศ.1815 นโปเลียนหนีกลับมาได้ อีกครั้งและประกาศตนเป็นจักรพรรดิ รวบรวมกำลังทหารเข้าต่อสู้กับ ฝ่ายพันธมิตร ต่างๆ เกิดสงครามวอเตอร์ลูขึ้น แต่ฝรั่งเศสก็รบแพ้ ทำให้ นโปเลียนถูกส่งขังที่เกาะเซนต์เฮเลนา นับเป็นการสิ้นสุดการครอง บัลลังก์เพียง 100 วันของนโปเลียน แล้วเขาก็เสียชีวิตบนเกาะนี้
ในปี ค.ศ. 1821 พระ เจ้าหลุยส์ที่ 18 กลับมาขึ้นครองราชย์อีกครั้ง แต่พระอนุชาคือ พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 10 ทรงพยายาม ฟื้นฟูระบบเก่าขึ้นมาอีก จึงมีการปฏิวัติขึ้นอีก พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปซึ่งดำรงตำแหน่งกษัตริย์อยู่ ได้ถูกเนรเทศออกนอก ประเทศ และต่อมาก็ได้มีการสถาปนา สาธารณรัฐขึ้น เป็นครั้งที่ 2 โดยมีหลุยส์นโปเลียนทำการรัฐประหารตั้งตัวเองขึ้น เป็นจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทำให้ชาติฝรั่งเศสมีความเข้มแข็ง มั่นคงขึ้น สภาพทุกอย่าง ในประเทศดีขึ้น และมีการขยาย อาณานิคมไปยังประเทศต่างๆ
ในปี ค.ศ. 1860 พระเจ้าหลุยส์นโปเลียน สถาปนาจักรพรรดิฝรั่งเศสในเม็กซิโกแต่ไม่สำเร็จ เพราะ ถูกอเมริกา ขัดขวางไว้ และยังต้องทำ สงคราม กับปรัสเซียอีก ฝรั่งเศสก็เป็นฝ่ายแพ้อีกครั้งและต้องเสียดินแดนในแคว้นอัลซาสให้แก่ ปรัสเซีย อีกด้วย ซึ่งทำให้พระองค์ต้องสละราชบัลลังก์
ในปี ค.ศ.1875 มีการสถาปนาฝรั่งเศสเป็นครั้งที่ 3 ยุคของนโปเลียนสิ้นสุดลง ทำให้ประเทศฝรั่งเศสอ่อนแอ เป็นอย่างมาก ต้องเสียดินแดน ให้ผู้รุกราน ประจวบกับเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น เป็นเหตุให้ฝรั่งเศส ยิ่งบอบช้ำ ขึ้นไปอีก ภายหลัง ได้มี ีการเซ็นสัญญาสงบศึกที่ Vinchy แล้วฝรั่งเศสก็ประกาศตัวเป็นอิสรภาพ โดยความช่วยเหลือ จากฝ่ายพันธมิตรต่างๆ ในเดือนกันยายนปี 1944 นายพลชาลส์เดอโกล์ ก็ได้ดำรงตำแหน่งผู้นำรัฐบาล ในปี ค.ศ.1946 ซึ่งเป็นยุคของสาธารณรัฐที่ 4
ระหว่างปี ค.ศ. 1946-1958 นายพลเดอโกล์ กลับมาดำรงตำแหน่งผู้นำอีกครั้ง ระหว่างที่ฝรั่งเศสเข้าร่วมวิกฤติการณ์ใน แอลจีเรีย เขาทำให้ ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีสังคม เปลี่ยนไปสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี และพัฒนาฝรั่งเศสดีขึ้นในหลายๆด้าน ทำให้เป็นที่ ยอมรับจากผู้คนที่นิยมในตัวเขา และให้สถาปนาฝรั่งเศส เป็นสาธารณรัฐ เป็นครั้งที่ 5 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1958-ปัจจุบัน ต่อมามีการชุมนุม ประท้วง รัฐบาลในกรุงปารีส ทำให้รัฐบาล ต้องยอมรับมติประชาชนที่ว่าด้วยการปฏิรูป กฎหมาย รัฐธรรมนูญนายพลเดอโกล์จึงขอลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 10 พ.ค. ปี ค.ศ. 1981 ฝรั่งเศสได้ประธานาธิบดีคนใหม่ ที่มาจากการเลือกตั้ง คือประธานาธิบดีฟรังซัวส์ มิตแตร์รองด์ ผู้สมัครจากพรรค สังคมนิยม จึงบริหารงานด้วยระบอบสังคมนิยม และอยู่ในต่ำแหน่ง 14 ปีด้วยกัน จนกระทั่งมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งทำให้ นายฌาคส์ ชีรัค ผู้สมัครจาก พรรคสังคมนิยมเช่นเดียวกันเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง เข้ารับการเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ในเดือนมิถุนายน ปี ค.ศ.1995
สำหรับความสัมพันธ์ของไทยและฝรั่งเศสนั้น มีมาตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาในรัชสมัยของ สมเด็จ พระนารายณ์มหาราช แต่ก็ต้องสิ้นสุดลง เพราะ การเมือง การปกครองของฝรั่งเศสกำลังวุ่นวาย .. ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ความสัมพันธ์กับฝรั่งเศสไม่ราบรื่น เพราะไทยพอใจทำการค้า กับจีน และมลายูมากกว่าประเทศ ทางยุโรป
จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่จุดประสงค์ คือต้องการที่จะให้ไทยเป็นเมืองขึ้น แต่ด้วย พระปรีชาสามารถของพระองค์ทำให้รอดพ้นเหตุการณ์นั้นมาได้
ปัจจุบันประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมต่างๆของฝรั่งเศสเข้ามา ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง
ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้
วันชาติฝรั่งเศส ถือเอาวันที่ประชาชาชนบุกยึกคุก Bastille ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองที่ขัดเเย้งกับระบบขุนนาง เเละเริ่มต้นการปกครองเเบบสาธารณรัฐเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศสซึ่งตรงกับวันที่ 14 กรกฏาคม จึงใช้วันนี้เป็นวันชาติเรื่อยมารวมทั้งกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการอีกด้วย
การบุกยึดคุก Bastille ในวันที่ 14 กรกฏาคม ค.ศ. 1789
คุก Bastille เป็นสถานที่คุมขังนักโทษทางการเมืองที่มีเเนวคิดต่อต้านการปกครองของพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 โดยในวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ.1789 หากจากมีกระเเสความเคลื่อนไหวทางการเมืองอย่างรุนเเรง บรรดาเหล่าขุนนางได้เปิดประชุมเพื่อปรึกษาหารือถึงกรณีที่ประชาชนส่วนใหญ่ของฝรั่งเศสเรียกร้องให้เปลี่ยนเเปลงการปกครองให้เป็นระบอบสาธารณรัฐ รวมทั้งให้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญและก่อตั้งรัฐสภาแห่งชาติ
20 มิถุนายน ค.ศ. 1789 ก่อกำเนิด Jeu de Paume โดยตัวแทนของคณะก่อการจากชนชั้นกรรมมาชีพ ได้กระทำสัตยาบรรณร่วมกัน โดยจารึกไว้ว่า เหล่าคณะผู้ก่อการจะไม่ แตกแยกกันจนกว่าจะมีการร่างรัฐธรรมนูญเป็น ผลสำเร็จ แนวความคิดของคณะผู้ก่อการ ได้รับการตอบรับอย่างยิ่งยวดจากประชาชนชาว ฝรั่งเศสที่ต้องต่อสู้กับความแร้นแค้น และสภาวะเสื่อมถอยของสังคมในสมัยนั้น ในขณะที่แนวความคิดนี้ขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง กับชนชั้นขุนนาง
14 กรกฏาคม ค.ศ. 1789 เมื่อมีแนวร่วมมากขึ้น ทำให้คณะปฏิวัติ แข็งแกร่งขึ้นทุกขณะ ประชาชนในกรุงปารีสได้รวมตัวกันเดินขบวนไปยังคุก Bastille เพื่อ ปลดปล่อยนักโทษทางการเมืองที่มีความเห็นไม่ตรงกันกับบรรดาเหล่าขุนนาง โดยสามารถบุกยึดคุก Bastille ได้ภายใน 1 วันด้วยพลังประชาชนเเละมีหน่วยทหารบางหน่วยที่เเปรพักต์มาร่วมในการบุกยึดครั้งนี้
16 กรกฎาคม ค.ศ. 1789 การปฏิวัติที่ประสบผลสำเร็จ ด้วยความล่มสลาย ของคุก Bastille ภายในเวลา 24 ชั่วโมงหลังจากเริ่มก่อการ ทำให้การบุกยึดคุก Bastilleกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งเสรีภาพ และประชาธิปไตย ของชาวฝรั่งเศส ทุกคนตราบจนกระทั่งทุกวันนี้ วันที่ 14 กรกฎาคม จึงถูกเลือกมาให้เป็นวันชาติฝรั่งเศส
14 กรกฎาคม เป็นวันชาติฝรั่งเศส หรือ" วันทลายคุกบาสติล "อันเป็นต้นกำเนิดการปฏิวัติล้มเลิกการปกครองระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ แต่การสวนสนามของกองทัพฝรั่งเศสบนถนนฌอง เซลิเซ่ เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี่ มีขึ้นท่ามกลางความบาดหมางระหว่างเขากับกองทัพ มีรายงานว่าขวัญกำลังใจของกองทัพตกต่ำอย่างหนัก และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ ตกต่ำที่สุด นับจากหลังสงครามแอลจีเรียเมื่อ 46 ปีก่อน
( เห็นในภาพซาร์โกซี่กับบิ๊กทหารยืนยิ้มคุยกันอยู่บนรถขณะตรวจพลสวนสนาม แต่นักวิเคราะห์เตือนว่า"สิ่งที่เห็นอาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น")
หนังสือพิมพ์หลายฉบับของฝรั่งเศสพากันรายงานข่าวในลักษณะที่ว่ากองทัพไม่มีใจให้นายซาร์โกซี่ทั้งที่เป็นช่วงที่มีการเพิ่มจำนวนทหารฝรั่งเศสในอาฟกานิสถาน และมีการเพิ่มบทบาทในกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติของฝรั่งเศส นายซาร์โกซี่กล่าวสุนทรพจน์ต่อกองทัพเมื่อวานนี้ โดยมีเจตนาจะสยบความตึงเครียดและยืนยันต่อกองทัพถึงความชื่นชมและไมตรีจิตจากเขา แต่หนังสือพิมพ์เลอ ปารีเซียง ฉบับวานนี้อ้างถ้อยแถลงของทหารนายหนึ่งว่า ขวัญกำลังใจของกองทัพอยู่ที่ระดับ 4 จาก 10 ซึ่งตามปกติถ้าอยู่ที่ระดับ 7 ก็น่าวิตกแล้ว
ส่วนหนึ่งของความตึงเครียด มาจากแผนปฏิรูปกองทัพของซาร์โกซี่ ซึ่งรวมทั้งจะลดทหารลง 54,000 นายในช่วง 6-7 ปีข้างหน้า แต่เดิมมีกำหนดจะเปิดเผยชื่อฐานทัพที่จะถูกยุบในต้นเดือนนี้ แต่ได้เลื่อนออกไปจนสิ้นเดือนนี้หลังเกิดความตึงเครียดและการประท้วง บุคคลสำคัญหลายซึ่งใช้นามแฝง เขียนบทความลงคอลัมภ์หนังสือพิมพ์ วิจารณ์การลดขนาดกองทัพว่าเป็นการปฏิรูปกองทัพโดยพวกมือสมัครเล่น และมีรายงานด้วยว่า นายซาร์โกซี่เรียกร้องให้หน่วยงานข่าวกรองทหารปลดสายลับชนิดถอนรากถอนโคน ความตึงเครียดยิ่งทวีหนักเมื่อเดือนมิถุนายน เมื่อทหารนายหนึ่งใช้กระสุนจริงยิงสาธิตแทนที่จะใช้กระสุนปลอม ในงานวัน"กองทัพพบประชาชน" ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 17 คน นายซาร์โกซี่ตำหนิกองทัพว่าเป็นมือสมัครเล่น ไม่ใช่ทหารอาชีพ และเสนาธิการทหารได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
ความหมายของสีที่อยู่ในธงชาติประเทศฝรั่งเศส
ก้อสีทุกสีที่มีอยู่ในธงชาติฝรั่งเศสเนี่ยล้วนมีความหมายอันลึกซึ้งแฝงอยู่ คนไหนที่เรียนมาก้อจะรู้ว่ามันสุดยอด ไอ่เราก้อเรียนนะแต่ก้อลืมไปหมด เมื่อวานที่โรงเรียนเลยรื้อฟิ้นให้เลย ก้ออย่างที่รู้ๆกันนะว่า ธงชาติบ้านเค้าสีเหมือนบ้านเราเดี๊ยะๆ น้ำเงิน ขาว และ แดง โดยที่สี น้ำเงินกะแดงเป็นสีที่บ่งบอกความเป็นเมืองหลวงแห่งกรุง ปารีส แต่สีแดงเนี่ย เมื่อก่อนเค้าก้อยกให้เป็นสีแห่งนักปฎิวัติฝรั่งเศสก่อนที่จะมาเปลี่ยนนัยแฝงกันภายหลัง ส่วนสีขาวเนี่ยเป็นสีขององค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งสีขาวเนี่ยนะยังสื่อให้ผู้คนระลึกถึงจำนวนผู้คนบริสุทธิ์ที่ถูกประหารโดยเครื่องประหารกิโยติล ( Guillontine) ในยุครุ่งโรจน์ของเจ้าใหญ่นายโตทั้งหลายเมื่อปี 1793 นู้นนนนแหละ แหมมม อ่ะนะจะให้มานั่งเจียระไนสัญลักษณ์ของฝรั่งเศสแต่ละตัวเนี่ยคง 3 วันรวดแหละ เอาเป็นว่า พอรู้ว่า ธงบ้านเค้าเนี่ยไม่ได้หลับตาเลือกๆไปงั้นๆ