วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

มันแกว มีประโยชน์ น๊ เจ้าค๊


มันแกว (YAM BEAN)
ชื่อวิทยาศาสตร์: Pachyrhizus erosus L. Urb.

ชื่อวงศ์ : Leguminosae

ชื่อสามัญ : Jicama, Yam bean

ชื่ออื่น : มันแกว (กลาง), หัวแปะกัวะ (ใต้), มันแกวละแวก มันแกวลาว(เหนือ),มันเพา (อีสาน)เครือเขาขนหมากบัง(เพชรบูรณ์) ถั่วกินหัว ถั่วบ้ง

รายละเอียด

มันแกวเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในหลายพื้นที่เช่นในแถบอเมริกากลาง แอฟริกาตะวันออก และในประเทศแถบทวีปเอเชียคือ ฟิลิปปนส์ อินเดีย จีน อินโดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ในประเทศไทยมันแถวมีอยู่ 2 ชนิดคือ พันธุ์หัวใหญ่ และพันธุ์หัวเล็ก อาจจะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามแต่ภูมิภาคได้แก่ ภาคใต้เรียกว่า "หัวแปะกัวะ" ภาคเหนือเรียกว่า "มันละแวก" "มันลาว" ส่วนภาคอีสานเรียกว่า "มันเพา" นอกจากนี้ยังอาจเรียกด้วยชื่ออื่นๆ เช่น "เครือเขาขน" "ถั้วบ้ง" และ"ถั่วกินหัว"

ส่วนหัวของมันแกว (รากแก้ว) เป็นส่วนที่ใช้รับประทาน ลักษณะภายนอกมีสีน้ำตาลอ่อนภายในมีสีขาว เมื่อเคี้ยว รู้สึกกรอบคล้ายลูกสาลี่สด อีกทั้งยังมีรสคล้ายแป้งแต่ออกหวาน โดยทั่วไปจะรับประทานสดๆ หรือจิ้มกับพริกเกลือ แล้วยังสามารถนำไปประกอบอาหารได้ทั้งคาวและหวานอีกด้วย เช่น แกงส้ม แกงป่า ผัดเปรี้ยวหวาน ผัดไข่ เป็นส่วนผสมของไส้ซาลาเปา และทับทิบกรอบ

แต่ในทางกลับกัน ต้นมันแกวสามารถใช้เป็นยากำจัดศัตรูพืช โดยใช้ส่วนของเมล็ด ฝักแก่ ลำต้น และราก แต่ส่วนเมล็ดจะมีสารพิษมากที่สุด ทำให้มีประสิทธิภาพในการกำจัดแมลงดีที่สุด นอกจากนั้นถ้ามนุษย์รับประทานเมล็ดเข้าไปจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งถ้าได้รับในปริมาณมาก สารพิษ Routinone จะกระตุ้นระบบหายใจ แล้วกดการหายใจ ชัก และอาจเสียชีวิตได้ คุณค่าทางอาหารของมันแกวนั้นประกอบด้วยน้ำ 90.5% โปรตีน 0.9% คาร์โบไฮเดรต 7.6%ไม่มีเส้นใยอาหาร โดยรสหวานนั้นมาจาก oligofructose inulin ซึ่งในร่างกายของมนุษย์ ไม่สามารถเผาผลาญได้ ดังนั้นมันแกวจึงเหมาะสำหรับผู้เป็นโรคเบาหวาน หรือผู้ควบคุมน้ำหนัก

มันแกวควรเก็บในที่แห้ง อุณหภูมิระหว่าง 12 - 16 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่านี้จะทำให้ส่วนรากช้ำได้ ถ้าเก็บรักษาถูกวิธีสามารถอยู่ได้นานถึง 1-2 เดือน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้เถาเลื้อยพัน มีหัวใต้ดิน เป็นรากสะสมอาหาร ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ ดอกช่อกระจะ ออกเดี่ยวๆ ที่ซอกใบ มีขนสีน้ำตาล กลีบดอกสีม่วงแกมน้ำเงิน รูปดอกถั่ว ผลเป็นฝัก รูปขอบขนานแบน มีขน เมล็ดมี 4-9 เมล็ด

องค์ประกอบของส่วนต่าง ของมันแกว มีดังนี้

หัว หัวมันแกวประกอบด้วยแป้งและน้ำตาล และมีวิตามิน ซี มาก ผลจากการวิเคราะห์ประกอบด้วย ความชื้นร้อยละ ๘๒.๓๘ โปรตีนร้อยละ .๔๗ ไขมันร้อยละ .๐๙ แป้งร้อยละ .๗๒ น้ำตาลร้อยละ .๑๗ non-reducing sugar ร้อยละ .๕๐ เหล็ก (Fe) .๑๓ มิลลิกรัมต่อ ๑๐๐ กรัมของโปรตีนที่เกินได้ แคลเซียม (Ca)๑๖. มิลลิกรัม ไทอามีน . มิลลิตกรัม ไรโบฟลาวิน .๐๒ มิลลิกรัม กรดเอสโคนิก ๑๔ มิลลิกรัมมันแกวเป็นพืชที่มีหัวใต้ดินซึ่งรับประทานได้

ฝัก ฟิลิปปินส์ทำการวิเคราะห์ฝักปรากฏว่าประกอบด้วยความชื้อร้อยละ ๘๖. โปรตีนร้อยละ .ไขมันร้อยละ . คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๑๐. เส้นใยร้อยละ . เถ้าร้อยละ . แคลเซียม ๑๒๑ มิลลิกรัม/๑๐๐ กรัมฟอสฟอรัส (P) ๓๙ มิลลิกรัม เล็ก . มิลลิกรัม วิตามินเอ 575 IU ไทอามิน .๑๑ มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน.๐๙ มิลลิกรัม ไนอาซิน . มิลลิกรัม

เมล็ด ประกอบด้วยน้ำมันที่ใช้กินได้ร้อยละ ๒๐.-๒๘. ผลการวิเคราะห์เมล็ดประกอบด้วยความชื้นร้อยละ . โปรตีนร้อยละ ๒๖. น้ำมันร้อยละ ๒๗. คาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๒๐. เส้นใยร้อยละ . เถ้าร้อยละ .๖๘ เมล็ดแก่เป็นพิษเนื่องจากประกอบด้วยโรตีโนนร้อยละ .๑๒-.๔๓ และไอโซฟลาวาโนนและ ทุฟูราโน -- ฟีนิลดูมาริน ส่วนที่เป็นพิษ เมล็ด ใบ ฝักแก่

สารพิษและสารเคมี

ฝักอ่อนของมันแกวสามารถรับประทานได้ แต่เมื่อแก่จะเป็นพิษ โดยเฉพาะที่เมล็ดของมันแกวนั้น มีสารที่มีฤทธิ์เป็นยาฆ่าแมลง หลายชนิด ได้แก่ pachyrrhizin, pachyrrhizone, 12-(A)-hydroxypachyrrhizone, dehydropachyrrhizone, dolineone, erosenone, erosin, erosone ,neodehydrorautenone, 12 -(A)-hydroxy lineonone, 12-(A)-hydroxymundu- serone (8), rotenone (9)นอกจากนี้ยังมีสารซาโปนิน ได้แก่pachysaponins A และ B ซึ่งละลายน้ำได้ และเป็นพิษต่อปลาทำให้ปลาตาย ส่วนใบ ของมันแกวนั้นมีสารพิษคือ pachyrrhizid ซึ่งมีพิษต่อโคและกระบือมากกว่าม้า

การเกิดพิษ

เมื่อศึกษาพิษของ rotenone พบว่า ถ้ารับประทาน rotenone เข้าไป จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน การหายใจเข้าไปพิษจะรุนแรงกว่า โดยไปกระตุ้นระบบการหายใจ ตามด้วยการกดการหายใจ ชัก และอาจถึงชีวิตได้ มีรายงานว่าถ้ารับประทานเมล็ดมันแกวเพียงครึ่งเมล็ดจะเป็นยาระบาย และบางแห่งใช้เป็นยาขับพยาธิ ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง นอกจากนี้อาจเกิดอาการพิษเรื้อรัง โดยทำให้ไขมันในตับและไตเปลี่ยนแปลง ส่วนพิษของสารซาโปนิน จะมีผลต่อระบบทางเดินอาหารเช่นกัน คือมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ลำไส้อักเสบ ในรายที่เป็นรุนแรงอาจมีปัญหาในระบบกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถทรงตัวได้ ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติและทำให้ชักได้

การรักษา

1. ล้างท้อง ให้รับประทานพวก demulcents เช่น นมและไข่ขาว เพื่อลดการดูดซึมสารพิษ

2. นำส่งโรงพยาบาล และระวังการเสีย นํ้าและ electrolyte balance ถ้าสูญเสียมากต้องให้น้ำเกลือทางเส้นเลือด

3. รักษาตามอาการต่างๆ เช่นถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ ช็อค ต้องรีบช่วยผู้ป่วยหายใจได้ด้วยตนเองหรือใส่เครื่องช่วยหายใจ ให้น้ำเกลือเพื่อรักษาความสมดุลย์ของน้ำและน้ำเกลือในร่างกาย ให้ยาตามความเหมาะสมตามแพทย์ที่ทำการรักษา

เทคนิคการปลูกมันแกวยักษ์

การปลูกมันแกวยักษ์หรือมันแกวลูกใหญ่ จัดเป็นรายได้เสริม แซมการปลูกพืชไร่ที่เป็นอาชีพหลักได้ ดังเช่น หลายหมู่บ้านในตำบลช่องแค ซึ่งปลูกข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเหลือง ถั่วเขียวและอ้อยเป็นหลัก ได้ปลูกมันแกวยักษ์เป็นรายได้เสริมด้วย ฉะนั้น สำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชไร่อาจลองศึกษาการปลูกมันแกวยักษ์เพื่อเพิ่มรายได้ ดังนี้

ปลูกอย่างไรให้เป็นมันแกวยักษ์

1. ราวๆ เดือนพฤษภาคม เกษตรกรควรเตรียมดินหลังจากไถดะ โดยพลิกหน้าดินตากแดดประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นใช้ผาลหน้า 3 ไถแปรปรับหน้าดิน ไถยกร่องเป็นลักษณะรูปสามเหลี่ยม ฐานกว้าง 2 เมตร (ต้องใส่ปุ๋ยขี้ไก่ตั้งแต่ช่วงแรกของการเตรียมดินด้วย)

2. นำเมล็ดพันธุ์มันแกวหยอดบนสันสามเหลี่ยมหลุมละ 2 เมล็ด ห่างกันหลุมละ 1 คืบ ปล่อยทิ้งไว้เพื่อรอน้ำฝน ถ้าฝนตกลงมา ประมาณครึ่งเดือน ต้นมันแกวจะเริ่มงอก

3. ตรวจดูแต่ละหลุม แล้วถอนต้นมันแกวที่ไม่แข็งแรงออก ให้เหลือหลุมละ 1 ต้น

4. หลักจากมันแกวโตขึ้น ต้นอายุได้ 1 เดือน ให้ตัดยอดเหนือข้อที่ 1 ออก ไม่นาน มันแกวจะแตกออกเป็นหลายยอด และอีก 1 เดือน ให้ตัดยอดเหนือข้อที่ 2 และจะต้องตัดยอดทุกเดือน เดือนละครั้ง อีกประมาณ 6-7 ครั้ง เพื่อไม่ให้เถามันแกวเลื้อย ตัดให้เป็นพุ่มทรงเตี้ยๆ เพื่อให้ต้นสมบูรณ์

5. หลังจากนั้น ต้นมันแกวจะเริ่มออกดอก ให้ตัดยอดมันแกวอีก 2 ครั้ง หากไม่ตัด ปล่อยให้ออกช่อดอกแล้ว หัวมันแกวจะเล็กและฝ่อ

6. ช่วงที่ปลูกมันแกวได้ 3 เดือน ต้องใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 กระสอบละ 50 กิโลกรัม/ไร่ เพื่อบำรุงต้นและใบ หลังจากมันแกวเริ่มลงหัว เกษตรกรต้องใส่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 อีก 50 กิโลกรัม/ไร่ โดยการใส่ปุ๋ยครั้งหลังนี้ ใช้เวลาห่างจากใส่ครั้งแรก 1 เดือน และใช้สารเคมี (เป็นยาฆ่าแมลงผสมฮอร์โมน) ฉีดพ่นกันแมลงรบกวน
7. ในช่วงราวๆ เดือนธันวาคม เกษตรกรจะสามารถขุดมันแกวออกมาจำหน่ายได้ และขุดได้นานถึงเดือนเมษายน

มนูอาหารที่ทำจาก มันแกว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น