วันเสาร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วิตามินรวมวันละเม็ดมีคุณค่ามากกว่าที่คุณคิด

วิตามินเป็นสารอินทรีย์ที่ร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ต้องได้รับจากอาหาร ร่างกายเราต้องการวิตามินเพียงเล็กน้อยเท่านั้น วิตามินและเกลือแร่มีส่วนสำคัญในการควบคุมการทำงาน การเจริญเติบโต ของเซลล์ วิตามินและเกลือแร่ได้จากอาหารเป็นส่วนใหญ่เช่น ข้าว ผลไม้ ผักต่างๆมีเพียงวิตามิน D,K ที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง


วิตามิน

วิตามินมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายประการ เช่น การเจริญเติบโต ระบบย่อยอาหาร ระบบประสาท และต่อต้านเชื้อโรค วิตามินยังมีบทบาทในการเปลี่ยนอาหารไปเป็นพลังงานโดยขบวนการทางเคมี วิตามินแบ่งออกเป็น
- วิตามินที่ละลายในน้ำได้แก่ Vitamin C, biotin and the seven B vitamins — thiamin (B-1), riboflavin (B-2), niacin (B-3), pantothenic acid (B-5), pyridoxine (B-6), folic acid (B-9) and cobalamin (B-12)
- วิตามินที่ละลายในไขมันได้แก่ vitamin A, D, E or K วิตามินเหล่านี้จะเก็บในไขมัน หากรับมากเกินไปอาจจะทำให้เกิดพิษโดยเฉพาะวิตามิน A,D ส่วนวิตามิน E,K มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นการซื้อวิตามินรับประทานต้องดูว่ามีวิตามินเหล่านี้หรือไม่

วิตามินบางตัวเป็น antioxidants ซึ่งป้องกันเซลล์มิให้ถูกทำลาย ชะลอความแก่ ป้องกันมะเร็งโดย อนุมูลอิสระ free radical สมัยก่อนเชื่อว่าหากรับประทานอาหารได้ตามปกติไม่จำเป็นต้องได้รับวิตามินเสริม แต่ปัจจุบันได้มีรายงานว่าการรับวิตามินเกินความต้องการของร่างกายอาจจะทำให้ป้องกันโรคได้ เช่นโรคหัวใจ แต่บางท่านเชื่อว่าวิตามินและเกลือแร่บางส่วนอาจถูกทำลายจากการปรุงอาหาร การถนอมอาหาร แต่อย่างไรก็ตามหากต้องการรับประทานวิตามินเกินค่าที่กำหนดโดย Recommended Daily Allowance (RDA) ควรปรึกษาแพทย

คนกลุ่มใดควรได้วิตามินเสริม


* เด็กและหญิงตั้งครรภ์ที่ต้องการสารอาหารเพิ่ม
* วัยรุ่นที่คุมอาหาร
* คนจรจัด คนจนที่รายได้ไม่พอใช้
* ผู้ป่วยที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ควรได้รับวิตามินเนื่องจากสุรา และบุหรี่จะทำลายวิตามิน
* ผู้ป่วยเรื้อรัง
* ผู้ที่มีปัญหาในระบบย่อยอาหาร
* กินเจ


เกลือแร่

เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูกและฟัน ยังควบคุมการการเวียนของน้ำในร่างกาย และการทำงานของเส้นประสาท แบ่งเป็นสองกลุ่ม


- Major minerals. ได้แก่เกลือแร่ที่ร่างกายต้องการเป็นจำนวนมากเช่น Calcium, phosphorus, magnesium, sodium, potassium, sulfur and chloride ซึ่งร่างกายต้องการมากกว่าวันละ 250 มิลิกรัม
- Trace minerals คือเกลือแร่ที่ร่างกายต้องดารวันละเพียงเล็กน้อยได้แก่ Chromium, copper, fluoride, iodine, iron, manganese, molybdenum, selenium and zinc โดยทั่วไปร่างกายต้องการวันละไม่เกิน 20 มิลิกรัม


ประโยชน์ของอาหาร

อาหารที่เรารับประทานจะให้ทั้งพลังงาน เกลือแร และวิตามิน ประโยชน์ของอาหาร

- อาหารที่เรารับประทานจะมีส่วนประกอบหลายอย่างเช่น ส้มให้ทั้งวิตามินซี carotine แคลเซียม และมีใยอาหาร
- ในอาหารจะมีใยอาหารซึ่งเชื่อว่าใยอาหารนี้สามารถป้องกันโรคมะเร็ง
- อาหารมีสารอาหารอื่นที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น phytochemicals สารเคมีที่มาจากพืชมีประโยชน์ป้องกันมะเร็ง เบาหวาน โรคหัวใจ นอกจากนั้นยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ


หากรับประทานวิตามินเกินกำหนดจะมีโทษหรือไม่

วิตามินโดยทั่วไปหากรับประทานมากเกินไปไม่มีอันตรายร่างกายจะขับออก แต่มีวิตามินบางชนิดหากได้รับมากจะต้องได้รับสารอื่นด้วยเช่นหากได้รับวิตามิน C มากต้องได้แร่ทองแดง copper ดังนั้นไม่ควรได้รับวิตามินเกินกว่าที่กำหนด ตัวอย่างวิตามินที่หากได้รับเกินขนาดแล้วเกิดปัญหาต่อสุขภาพ


- vitamin A หากได้รับประทานมากกว่า 25,000 iu จะทำให้ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ผิวแห้ง คันและผมร่วง หากได้มากขึ้น ตับม้ามจะโต และปวดกระดูก หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรได้รับเกิน 10,000 iu ถ้ามากกว่านี้อาจทำให้เกิดเด็กพิการ
- vitamin B3 [niacin] ขนาดต่ำทำให้เกิดร้อนตามตัว ถ้าขนาดสูงจะทำให้ท้องร่วงคลื่นไส้และเป็นพิษกับตับ
- vitamin B6 ถ้าใช้นานอาจทำให้เกิดชาตามแขนและขา ขนาดที่เป็นพิษคือเกิน 500มก./วัน
- vitamin Cโดยทั่วไปไม่มีพิษ แต่หากใช้เกิน 1 กรัมจะทำให้เกิด คลื่นไส้ ท้องร่วง ตะคริว และเกิดนิ่วที่ไต
- vitamin D หากได้รับเกิน 50,000 iu จะทำให้เกิดเบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องร่วง น้ำหนักลด หิวน้ำ เหงื่อออกมาก และมีพิษต่อตับ
- vitamin E หากได้รับมากอาจลดการดูดซึมของวิตามิน K,A,D
- vitamin M [folic acid]ไม่มีพิษหากได้รับเพิ่มควรได้รับ vitamin B12 เพิ่ม
- calcium หากได้รับมากอาจทำให้เกิดท้องผูก
- copper ทองแดงไม่มีพิษนอกจากผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการขับออก ได้รับขนาดสูงจะทำให้อาเจียน
- Fluoride ขนาดที่มีผลต่อสุขภาพคือเกิน 2.5 มก.ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบหากได้รับ Fluoride โดยที่ได้รับ calcium ไม่พออาจทำให้ฟันเปลี่ยนสี
- Iron ธาตุเหล็กหากได้รับขนาดสูงจะระคายกระเพาะ และท้องผูก
- Selenium หากได้มากกว่า 2000 ไมโครกรัมจะมีผลต่อตับ ระบบประสาท ผิวหนัง เล็บและฟัน
- Sodium เกลือหากได้รับเกินจะเป็นความดันโลหิตสูง
- Zinc สังกะสี หากได้รับเกินจะมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน และหลอดเลือด


Vitamin A (Retinol)

- หน้าที่ วิตามิน A เป็นส่วนประกอบสำคัญของ cornea และยังมีผลต่อการเจริญเติบโต การสร้างกระดูก และระบบสืบพันธ์ นอกจากนี้ยังป้องกันการติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินหายใจ และระบบขับปัสสาวะ ทำให้ผิวและผมแข็งแรง Beta carotene (หรือ pro vitamin A) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นวิตามิน A ในร่างกาย Beta carotene เป็นสารต้านอนุมูลอิสระสามารถชะลอความแก่ได้
- อาการเมื่อขาดวิตามิน A จะมีตาแห้ง คันและตาอักเสบ ตามองไม่เห็นในเวลากลางคืน ผมแห้ง ผิวแห้งและหยาบ ติดเชื้อได้ง่าย ถ้าขาดมากฟันและกระดูกไม่แข็งแรง
- แหล่งอาหาร วิตามิน A พบมากในตับ ไข่แดง นม น้ำมันตับปลา ไก่ Beta carotene พบมากในผักสีเขียว ผลไม้สีเหลืองและเขียวเข็ม
- การป้องกันการขาดวิตามิน เอ สามารถทำได้โดยการรับประทานผลไม้สีส้มหรือเหลือง ผักใบเขียวโดยรับประทานสดๆ การเก็บรักษาผักและผลไม้ให้เก็บในภาชนะและแช่ตู้เย็น ผักควรใช้วิธีการต้มหรืออบมากกว่าการทอด

โรคขาดวิตามิน A

วิตามิน A เป็นวิตามินที่ละลายในไขมันพบมากในน้ำมันตับปลา ตับ ไข่แดง เนยพวกพืชใบเขียวผลไม้สีส้มเช่นผักคะน้า ผักบุ้ง ส้ม ฟักทองก็มีสาร beta-carotene ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามิน A ตับจะเป็นแหล่งสะสมของวิตามิน

สาเหตุของการขาดวิตามิน

- จากการขาดอาหารโดยเฉพาะคนที่บริโภคข้าวเป็นอาหารหลักเนื่องจากข้าวมีวิตามิน A ต่ำ
- ขาดวิตามินเนื่องจากการดูดซึม,การสะสมหรือกลไกการขนส่งเช่น โรคท้องร่วงเรื้อรัง โรคตับอ่อนอักเสบ ท่อน้ำดีำัอุดตัน
- ผู้ที่รับประทานอาหารน้อย เช่นผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง
- ผู้ที่ขาดธาตุสังกะสีโดยมากพบร่วมกับผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรัง


อาการของคนขาดวิตามิน A

ความรุนแรงของการขาดวิตามินขึ้นกับอายุ หากขาดวิตามินตั้งอายุน้อยจะมีอาการรุนแรง

ระบบการมองเห็น

-ในเด็กอาจจะมีอาการโตช้า
-ตาบอดกลางคืน Night blindness เด็กจะมองไม่ชัดในที่มืด ทำให้เด็กหกล้มได้ง่าย
-ตาแห้ง ตาขาวจะแห้ง มีรอยย่น เรียกสะเก็ดปลากระดี่หรือ Bitot´s spots การมองเห็นยังคงปกติ
-ตาวุ้น Keratomalacia ในระยะแรกกระจกตาจะแห้งและขุ่น ต่อมาจะเหลวเหมือนลำไย เนื่องจากโปรตีน มีการติดเชื้อได้ง่าย
-ผิวแห้งเป็นตุ่มๆ Follicular hyperkeratosis


การป้องกัน


เด็กที่เกิดในประเทศที่มีความเสี่ยงควรจะให้วิตามิน A 200,000 ยูนิตทุก 3-6 เดือนให้จนถึงอายุ 4 ขวบ อาหารที่ให้แก่เด็กควรจะเป็นพืชใบเขียวผลไม้สีเหลือง

Vitamin B1 (Thiamine)


*Thiamine จะทำงานเป็น coenzyme ช่วยในการเผาผลาญอาหารจำพวกแป้ง หากขาดวิตามินนี้จะมีอาการปลายประสาทอักเสบ มีอาการทางสมอง และทางเดินอาหาร
*หน้าที่มีส่วนในการทำงานของเส้นประสาท กล้ามเนื้อ หัวใจ และการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต์
*แหล่งอาหาร พบมากในธัญพืช เช่นข้าว ถั่วชนิดต่างๆ เครื่องในสัตว์ ไข่ หมู


สาเหตุของการขาดวิตามิน

-เกิดจากการรับประทานวิตามินไม่เพียงพอโดยเฉพาะรับประทานข้าวที่ผ่านการขัดสีจะทำให้วิตามินหลุดออกไป
-เกิดจากภาวะที่ร่างกายเราต้องการวิตามินมากกว่าปกติ เช่น คนท้อง คนที่คอพอกเป็นพิษ ผู้ที่ให้นมบุตร คนที่มีไข้สูง


อาการของผู้ที่ขาดวิตามินเป็นอย่างไร

-อาการทั่วๆจะมีอาการอ่อนเพลีย หงุดหงิด ความจำไม่ดี นอนไม่หลับ เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร ท้องผูก
-ผู้ป่วยจะมีอาการชาโดยเฉพาะทปลายเท้าทั้งสองข้างเรียก beriberi
-บางรายอาจจะมีอาการปวด หรือเป็นตะคริวโดยเฉพาะเวลากลางคืน
ปวดกล้ามเนื้อ ลุกไม่ขึ้น
-อาการทางประสาทมักจะเกิดในคนที่ขาดวิตามินอยู่แล้ว เกิดอาการขาดอย่างเฉียบพลันผู้ป่วยจะมีอาการสับสน พูดจาวกวนไปมาเรียกระยะนี้ว่า Korsakoff's syndrome หากไม่รักษาผู้ป่วยจะมีอาการตากระตุก เห็นภาพซ้อน โคม่าและเสียชีวิตเรียกระยะนี้ว่า Wernicke's encephalopathy
-Cardiovascular (wet) beriberi (Shoshin beriberi) คนที่ขาดวิตามินบี1และมีอาการทางหัวใจเด่น ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น ชีพขจรเร็ว ผิวร้อน เหงื่อออก หากเป็นมากจะมีอาการหัวใจวาย เหนื่อง่าย นอนราบไม่ได้ เท้าบวม


การวินิจฉัย

*ตรวจปัสสาวะพบว่าการขับวิตามินออกทางปัสสาวะน้อยกว่า 50 ?g/day
*หรือตรวจหา Erythrocyte transketolase activity ก่อนและหลังให้วิตามินบี1


การรักษา


- ผู้ที่มีปลายประสาทอักเสบไม่มากให้รับประทานวิตามินบี1วันละ 20-30 มิลิกรัมเป็นเวลา 2-3 สัปดาห์แล้วแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินบี1 สูง
- สำหรับผู้ที่มีหัวใจวายให้ฉีดครั้งละ 50-100 มิลิกรัมผู้ป่วยจะตอบสนองเร็ว ยุบบวม
- สำหรับผู้ที่มีอาการทางประสาท ให้ฉีดครั้งละ 50-100 วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้นจึงให้รับประทานวันละ 20-30 มิลิกรัม
- ผู้ป่วยมักจะขาดวิตามินอื่นด้วยจึงต้องให้วิตามินอื่นเสริม
- นอกจากนั้นผู้ป่วยจะขาด Magnesium

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น